ประวัติความเป็นมา

ปี 2527

ก่อตั้งบริษัท เวนเจอร์ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท เซอร์คิทอีเลคโทรนิคส์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน)

ปี 2538

จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2538 ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแผงวงจรไฟฟ้า

ปี 2539

บริษัทเข้าจดทะเบียนและทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อ วันที่ 5 กรกฏาคม 2539

ปี 2548

บริษัทได้ประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจจนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในปี 2548

ปี 2558

บริษัทได้ฟื้นฟูกิจการจนเป็นผลสำเร็จและได้เลิกประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเข้าลงทุนในธุรกิจใหม่ที่สามารถสร้างเสถียรภาพให้กับบริษัท คือธุรกิจบริหารหนี้และบริการติดตามหนี้สินและได้เข้าซื้อพอร์ตลูกหนี้ด้อยคุณภาพ ประเภทสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อรองรับการเข้าลงทุนในธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ และบริการติดตามหนี้รวมถึงธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “ บริษัท เวนเจอร์ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ” โดยมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “ Venture Incorporation Public Company Limited ” (VI)

ปี 2559

บริษัทได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทย่อยชื่อ บริษัท วี.ไอ. แคปปิตอล จำกัด (VIC) เมื่อเดือนมกราคม 2559 โดยบริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 ของหุ้นทั้งหมด มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในธุรกิจบริหารสินทรัพย์ และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2559  VIC ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์รีจินอล จำกัด (RAM) ประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ภายใต้ใบทะเบียนอนุญาตบริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

ปี 2560

เดือนมีนาคม 2560 บริษัท วี.ไอ. แคปปิตอล จำกัด (VIC) “บริษัทย่อย” ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัท ทรัพย์สิทธิ เซอร์วิส จำกัด ประกอบธุรกิจบริการรับแทนตัวแทนเรียกเก็บหนี้ หรือรับชำระเงินเป็นผลประโยชน์ และจัดการทรัพย์สินให้บุคคลอื่น โดย VIC ถือหุ้นร้อยละ 100 ของหุ้นทั้งหมด ซึ่งทำให้บริษัทเป็นกลุ่มบริษัทที่สามารถดำเนินธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ และบริการติดตามหนี้ได้อย่างเต็มรูปแบบ

เดือนตุลาคม 2560 บริษัท วี.ไอ. แคปปิตอล จำกัด (VIC) “บริษัทย่อย” ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัท เอนี่เพย์ จำกัด (Anypay) “บริษัทร่วม” ประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ อินเตอร์เน็ต และทางอิเล็กทรอนิกส์ โดย VIC ถือหุ้นร้อยละ 20 ของหุ้นทั้งหมด

ปัจจุบัน

บริษัทและบริษัทในกลุ่มได้มีส่วนในการสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินต่างๆ ทั้งการบริการติดตามหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน และการเข้าซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินเพื่อนำมาบริหารจัดการ